ทําไมการฉีดพ่นฆ่าเชื้อ COVID-19 ในสถานที่ปิดถึงใช้ไม่ได้ผลแล้ว

ทําไมการฉีดพ่นฆ่าเชื้อ COVID-19 ในสถานที่ปิดถึงใช้ไม่ได้ผลแล้ว       

ปัจจุบันนี้เรายังเผชิญกับปัญหาของเชื้อ COVID-19 และสถานการณ์นั้นดูไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด ทำให้ธุรกิจถดถอยลงไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะกับธุรกิจที่อยู่ในสถานที่ปิด เช่น ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ฟิตเนส โรงหนัง และห้างสรรพสินค้า รวมถึงพื้นที่ที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมากในสถานที่แคบๆ เช่น สํานักงาน และโรงงาน เนื่องจากสาเหตุนี้ คนจึงไม่กล้าเดินทางออกไปข้างนอกบ้าน หรือที่ทำงาน ต้องเก็บตัวอยู่ที่บ้านเพราะกลัวความเสี่ยงในการติดเชื้อ ทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพจิต

การฉีดพ่นฆ่าเชื้อตอนที่พบว่ามีคนติดเชื้อแล้วนั้นเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ และในเวลาเดียวกัน ณ ตอนนี้ หลายสถาบันวิจัยได้ออกมายืนยันว่าเชื้อไวรัส COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ สามารถแพร่กระจายได้ไกลกว่าเดิม และสามารถรอดอยู่ในอากาศได้นานหลายชั่วโมง ในพื้นที่ปิด

 

 

การพ่นฆ่าเชื้อ COVID-19 ในสถานที่ปิดได้ผลจริงหรือไม่?

หนึ่งในมาตรการป้องกันเชื้อ COVID-19ที่หลายธุรกิจได้ใช้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า คือ การพ่นฆ่าเชื้อ ด้วยนํ้ายาฆ่าเชื้อพิเศษที่ใส่ในเครื่องพ่นละอองเพื่อทําความสะอาดภายในสถานที่ปิด  แต่ในขณะนี้สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทยได้ให้แจ้งให้ทราบไว้ว่า การพ่นฆ่าเชื้อ ไม่มีความจําเป็นอีกต่อไป เนื่องจากการพ่นฆ่าเชื้อไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ และทําให้สิ้นเปลืองงบประมาณ ยิ่งไปกว่านั้น นํ้ายาฆ่าเชื้อพิเศษเป็นอันตรายต่อผู้สัมผัส การพ่นฆ่าเชื้อ สามารถทำให้สารคัดหลั่ง จากทางเดินหายใจของผู้ป่วยที่ ยังไม่แห้งตัวลงกระจายขึ้นในอากาศขณะที่ฉีดพ่นทําให้เพิ่มความเสี่ยงขึ้น ในขณะนี้ กรมควบคุมโรค ของกระทรวงสาธารณะสุข ได้แนะนําวิธีฆ่าเชื้อใหม่คือการเช็ดถูทําความสะอาด ซึ่งดีและปลอดภัยกว่าการพ่นฆ่าเชื้อ และคนทั่วไปสามารถทําได้เอง

 

ผู้ทำความสะอาดต้องเลือกสารฆ่าเชื้อให้เหมาะสมกับพื้นผิวสัมผัส ในส่วนผสมตามสัดส่วน ต่อไปนี้ 

  • แอลกอฮอล์ 70% เหมาะสําหรับพื้นผิวที่เป็น โลหะ
  • ผงซักฟอกผสมกับนํ้าร้อนที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส เหมาะสําหรับพื้นผิวที่เป็น ผ้า
  • นํ้ายาฟอกขาว 6% สารโซเดียมไฮโปคลอไรท์ (Sodium hypochlorite) ที่อัตราส่วน 1 ต่อนํ้า 99 เหมาะสําหรับพื้นผิวที่มีละอองจาก สารคัดหลั่ง เช่น เสมหะ นํ้ามูก นํ้าลาย
  • ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (3% H2O2) ที่อัตราส่วน 1 ต่อนํ้า 5 แต่ต้องระมัดระวัง เนื่องจากสารมีกัดกร่อนพื้นผิว และเป็นอันตรายต่อผู้สัมผัส
 

(เชื้อ COVID-19 ที่เกาะติดอยู่บนละอองแขวนลอยในอากาศจากผู้ติดเชื้อสามารถลอยได้ไกลถึง 4 เมตร และอยู่ในอากาศได้นานถึง 45 นาที)

 

เครื่องฟอกอากาศ ลดการติดเชื้อได้จริงหรือไม่?

จากคําแนะนําของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค Centre of Disease Control and Prevention หรือ CDC ของสหรัฐอเมริกาได้ประกาศว่าในอาคารหรือในพื้นที่ปิดที่อากาศไม่ถ่ายเทควรจะต้องมีเครื่องฟอกอากาศระดับที่สามารถกรองไวรัสได้มาช่วยลดความเข้มข้นของไวรัสในอากาศ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้มากขึ้น เครื่องฟอกอากาศนั้นสามารถช่วยลดจํานวนเชื้อไวรัสในอากาศได้จริง แต่ต้องมีแผ่นกรองที่มีประสิทธิภาพที่ความละเอียดเล็กกว่าไวรัสทุกชนิดบนโลกหรือขนาด 0.02 ไมครอน ในขณะที่ไวรัสสายพันธุ์โคโรนานั้นมีขนาดประมาณ 0.06 ถึง 0.14 ไมครอน แต่อีกปัจจัยสําคัญของเครื่องฟอกอากาศคือพัดลมซึ่งควรเป็นพัดลมที่มีศักยภาพในการดึงอากาศทั้งพื้นที่มาหมุนเวียนได้อย่างต่อเนื่อง เพราะเครื่องฟอกอากาศส่วนมากมักมีพัดลมขนาดเล็กและไม่สามารถกรองอากาศได้ทั้งห้อง

 

ทําไมพื้นที่ในอาคาร สถานที่ปิด จึงเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดของโควิด-19

จากงานวิจัยสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ของสหรัฐอเมริกา (Massachusetts Institute of Technology) ได้ระบุผลวิจัยใหม่ที่จะเปลี่ยนความเชื่อเรื่องมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาคารสถานที่ปิด เพราะทุกครั้งที่มีการ พูดคุย ตะโกน ร้องเพลง รับประทานอาหาร หรือการไอจามจากผู้ติดเชื้อจะเกิดละอองฝอยที่มีไวรัสปะปน หรือ Droplet กระจายออกไป ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าที่ตาเห็นและมีน้ำหนักเบามากจนสามารถลอยในอากาศได้นาน ทําให้ผู้คนในพื้นที่นั้นเสี่ยงรับเชื้อไม่แพ้กัน เพราะอากาศไม่ถ่ายเทเหมือนสถานทีโล่งแจ้งหนึ่งในวิธีการตรวจสอบค่าการระบายอากาศในอาคาร คือการวัดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในห้องปิด ซึ่งเกิดจากการหายใจของมนุษย์ด้วยเครื่องวัดคุณภาพอากาศที่ได้มาตรฐาน ตามข้อกําหนดของคณะกรรมาธิการด้านสุขอนามัยอากาศภายในอาคารของสํานักงานสิ่งแวดล้อมแห่งสหพันธรัฐเยอรมัน ระบุว่าในสภาวะอากาศถ่ายเทเพียงพอความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ควรมีค่าน้อยกว่า 1,000 ppm (0.1 vol%) หากสูงกว่านั้นควรเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท เป็นการลดความเข้มข้นของเชื้อไวรัสในอากาศ ซึ่งจะช่วยลดความ เสี่ยงที่ คนจะติดเชื้อได้มากขึ้น แต่การเปิดประตู-หน้าต่างอาจไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ ตรงจุดเท่าไหร่เพราะภายนอกอาคารก็เต็มไปด้วยมลพิษ อย่างฝุ่น PM2.5 ควันไอเสียจากรถยนต์ก๊าซพิษ สารเคมีซึ่งล้วนเป็นปัญหาต่อสุขภาพและการหายใจเช่นกัน

 

จะกลับมาเปิดร้าน ควรเลือกฆ่าเชื้อด้วยวิธีไหนดี

ถ้าร้านของคุณเพิ่งกลับมาเปิดใหม่หรือเคยมีประวัติมีผู้ติดเชื้อ แน่นอนว่าการฆ่าเชื้อด้วยวิธีที่ทําครั้งเดียวแบบการพ่นฆ่าเชื้อหรือใช้รังสียูวีย่อมเรียกความมั่นใจจากลูกค้าขึ้นมาได้เป็นครั้งคราว แต่ในแง่ของสุขภาวะของลูกค้าหรือคนที่เข้ามาประจํา รวมถึงพนักงานและเจ้าของธุรกิจ เมื่อมีคนไอหรือจามจะทำให้เกิดละอองฝอย (Droplet) จำนวนมาก ซึ่งจะลอยไปเกาะบนพื้นผิวต่างๆ ในละอองพวกนั้นอาจมีทั้งไวรัสและแบคทีเรียที่สามารถแพร่เชื้อผ่านทางอากาศได้ (Airborne) ในระยะยาวร้านค้าต่างๆ ต้องมีเครื่องฟอกอากาศที่ มีแผ่นกรองประสิทธิภาพเพียงพอในการกรองสิ่งเหล่านี้ และสิ่งที่สําคัญคือการหมุนเวียนอากาศ ทั้งการเปิดประตูและหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทเป็นครั้งคราวและการกรองอากาศอย่างต่อเนื่องจะช่วยลดความเสี่ยงได้ ตามที่สถาบันต่างๆแนะนํา

 

เครื่องฆ่าเชื้อในอากาศประสิทธิภาพสูง PCO

เครื่องฆ่าเชื้อในอากาศประสิทธิภาพสูงอย่าง PCO Series ใช้ระบบการฆ่าเชื้อ PCO หรือ Photo Catalytic Oxidation เป็นการใช้ Titanium Dioxide ทำให้เกิดปฏิกิริยา PCO สร้าง Hydroxyl Radical จะปล่อยประจุ OH- ออกสู่อากาศและประจุนี้จะจับตัวกับเชื้อโรค สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ในเวลาอันรวดเร็วและประจุก็จะสลายตัวไป และมีระบบกรอง 3 ชั้นประกอบด้วย Pre Filter กรองฝุ่นทั่วไป เส้นผม ขนสัตว์, Active Carbon Filter กรองกลิ่น และ สาร VOC และ HEPA Filter กรอง ฝุ่นระดับ PM2.5 นอกจากนี้ PCO Series ยังมีนวัตกรรมการสร้างกระแสอากาศหมุนเวียนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการฆ่าเชื้อและเพิ่มระยะเวลาของอากาศหมุนเวียนซึ่งเป็นสิทธิบัตรเฉพาะของ Airwave+

 

Visitors: 239,601